การออกตามหาคนดีของพ่อ ของกลุ่มดินฯ ลำดับที่สอง คือ ครูเกียรติ หรือชื่อ-สกุลจริงตามบัตรประชาชนว่า ทรงเกียรติ สุรพงษ์พิทักษ์ บุคคลท่านนี้นี่เอง ที่เป็นแรงบันดาลใจ ให้เกิดไอเดีย โครงการขอเป็นคนดี รุ่นแรกขึ้น จากการได้พบปะและสนทนากัน ในวันเวลาแห่งมิตรภาพ ที่บ้านดินของเขา กับก้อนดิน3ก้อนในวันนั้น ที่ยังไม่ได้เป็นดินก้อนใหญ่ เหมือนในทุกวันนี้ ครูเกียรติ จึงเปรียบเสมือน..ชิ้นส่วนที่ขาดหายไป ที่เรากำลังออกตามหามาเติมให้เต็มฝัน ในการร่วมกันทำเรื่องราวดีๆสักเรื่อง ในฐานะ ลูกของพ่อ ด้วยกัน
ปฐมบท
: บ้านดิน ของครูเกียรติ แรงบันดาลใจให้เด็กเดินตาม ด้วยวิถีพอเพียง
บทที่2. ประวัติพอสังเขป
ชื่อ : ทรงเกียรติ สุรพงษ์พิทักษ์
การศึกษา : ปริญญาตรี ด้านศิลปะ จากเพาะช่าง
อาชีพหลัก : ครูพิเศษสอนศิลปะ โรงเรียนบ้านหนองอีเหลอ และโรงเรียนบ้านลำทองหลาง
อาชีพเสริม : วาดภาพ
งานอดิเรก : ศึกษาเรื่องบ้านดิน
จากเด็กหนุ่มจบเพาะช่าง ที่หลงใหลในงานศิลปะ ชอบเขียนภาพและใฝ่ฝันจะมีสตูดิโอ ไว้โชว์ผลงานส่วนตัว ทำไมเขาถึงเลือกหันเหชีวิตศิลปินที่ตั้งเป้าหมายไว้ในอนาคต เบนเข็มขึ้นยอดเขาที่ปากช่อง
อะไรเป็นแรงบันดาลใจให้เขา ตามผู้เขียนมาพูดคุย ดูมุมมองและไลฟ์สไตล์ ของครูเกียรติ ครูพิเศษสอนศิลปะ แห่งโรงเรียนบ้านลำทองหลาง กันครับ
และบทสนทนาของครูเกียรติ ด้านล่างนี้ ..เกิดขึ้นและบันทึกไว้ด้วยตัวผู้เขียนเอง เมื่อครั้งได้อาศัยบ้านดินเป็นที่พักค้างแรม ขณะออกงานภาคสนาม สำรวจข้อมูลเพื่อทำกิจกรรมกับกลุ่มดินฯในโครงการ ขอเป็นคนดีเพื่อพ่อหลวง รุ่นแรกที่ปากช่อง ถูกกลั่นกรองมาเป็นบทสนทนาเพื่อบอกเล่ารายละเอียดตัวตน ของคนๆหนึ่งที่ยึดถือในแนวทางพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาปรับใช้ในวิถีชีวิตของตัวเองอย่างมีความสุข พร้อมทั้งใช้ความรู้ในวิชาชีพของการเป็นครู ถ่ายทอดให้เหล่าลูกศิษย์ตัวน้อยค่อยๆซึมซับผ่านภาพวิถีชีวิตแห่งบ้านดิน ข้างๆโรงเรียน
บทที่3 สนทนาหาตัวตน
ผู้เขียน : อาจารย์ มาไงไปไงครับ ถึงมาปลีกวิเวกอยู่ที่นี่ตามลำพัง
ครูเกียรติ : มาเที่ยวก่อนครับ มาหาที่วาดรูป ตระเวนไปทั่วปากช่องนั่นแหละ พอดีมาเจอที่แถวๆนี้ เห็นว่าสวยและบรรยากาศดีมากๆมีทั้งภูเขาและน้ำตกอยู่ใกล้บ้าน แถมเป็นที่ของคนรู้จักกัน เลยขอความเมตตาเค้า ขอซื้อซักแปลงนึง ไว้ปลูกบ้าน ปลูกต้นไม้
ผู้เขียน : แล้วมาสอนวิชาศิลปะให้เด็กๆที่โรงเรียน ได้ยังไงครับ
ครูเกียรติ : ช่วงนั้นเป็นครูพิเศษสอนวิชาประวัติศาสตร์ให้ โรงเรียนบ้านหนองอีเหลออยู่ก่อนแล้ว จากงบไทยเข้มแข็งของรัฐบาลน่ะครับ แล้วพอดี ครูที่โรงเรียนบ้านลำทองหลาง มาเห็น ได้พูดคุยกัน แล้วชอบใจในแนวทาง แกเลยชวนไปสอนศิลปะให้กับเด็กที่โรงเรียน โดยให้เอาผลงานศิลปะไปให้โรงเรียนเพื่อขอออดิชั่นดูก่อน ปรากฏว่าเย็นนั้นรู้ผล วันรุ่งขึ้นเลยได้สอนประวัติศาสตร์ควบคู่กับศิลปะ ไปพร้อมกันทั้ง2โรงเรียนครับ
(บ้านครูเกียรติกับโรงเรียนอยู่ติดกัน แค่มุดรั้วลวดหนาม เดินไปนิดเดียวก็ถึง)
ผู้เขียน : แล้วบ้านดินหลังนี้ สร้างเองหรือเปล่า เอาแบบมาจากไหน และทำไมต้องบ้านดินครับ
ครูเกียรติ : บ้านดินนี่ สร้างเองครับ ตั้งแต่ขึ้นโครงบ้านเลย ค่อยๆทำไปเรื่อยๆเหนื่อยก็หยุด ดินก็ขุดเอาแถวนี้แหละ เอามาปั้นและยัดลงในแบบบล็อก เหมือนก่ออิฐน่ะ นานเหมือนกัน เบ็ดเสร็จพร้อมเข้าอยู่ก็ประมาญ 3เดือนกว่าครับ แต่หลังคานี่ชาวบ้านเค้ามาช่วยกันลงแรง (เหมือนลงแขกเวลาทำนา คือไม่ต้องจ่ายเงินจ้าง แต่ใช้วิธีผลัดกันมาช่วย หมุนเวียนกันทำ เขามาช่วย เราก็ต้องไปช่วยคืน-ผู้เขียน)
รูปแบบบ้านดินนี่ มาจากความชอบส่วนตัวอยู่ก่อนแล้วครับ บวกกับศึกษาค้นคว้าจากตำหรับตำราบ้าง ประยุกต์แต่งเติมตามแนวคิดของตัวเองเข้าไปบ้าง
..ส่วนที่ต้องทำบ้านดินน่ะเหรอ ชอบนะ มันเป็นศิลปะอีกแขนงนึง แล้วดินที่นี่ก็เหมาะมากมีส่วนผสมที่ลงตัวพอดี อีกอย่างผมชอบชีวิตเรียบง่าย แบบพอเพียง ได้อยู่กับธรรมชาติ ได้ปลูกฝังศิลปะให้กับเด็กๆ มันเลยเป็นอะไรที่ลงตัวพอดีครับ
ผู้เขียน : สิ่งที่คาดหวังกับเด็กกับสิ่งที่สอนล่ะครับ
ครูเกียรติ: อยากให้เด็กเรียนศิลปะแบบถูกต้องตามหลักวิชาการตั้งแต่เล็กๆ โดยจะสังเกตุและดูแววของเด็กแต่ละคนครับ ใครมีแววก็พร้อมจะส่งเสริมและสนับสนุนให้เก่งต่อไปครับ
เช่น ภายในโรงเรียนก็ติดประกาศที่บอร์ดให้เด็กที่มีผลงานดีๆได้โชว์ความสามารถเป็นการสร้างแรงจูงใจ ส่วนภายนอกโรงเรียน ก็จะส่งเด็กไปประกวดแข่งขันวาดภาพตามที่อำเภอหรือจังหวัดจัดกิจกรรมขึ้น
ผู้เขียน : สุดท้ายครับอาจารย์ อยากฝากอะไรถึงสังคมภายนอกรั้วโรงเรียน อยากเพิ่มอะไรให้กับโรงเรียนหรือเด็กๆครับ
ครูเกียรติ : ครับ ก็อยากให้มีการจัดกิจกรรมดีๆ ส่งเสริมความรัก ความสามัคคีให้กับเด็กมากๆ และทั่วถึงครับ อย่างน้อย ให้เด็กได้ซึมซับเกี่ยวกับ ในหลวง ให้รักท่าน จากสิ่งที่ท่านทำให้พวกเรา ไม่ใช่สอนให้เด็กกราบและไหว้ โดยไม่รู้ที่มาที่ไป เพราะเด็กที่เกิดยุคสมัยนี้ ข่าวสารหรือการทรงงานของพระองค์ท่านก็ซาๆลงไปเพราะสุขภาพของท่านไม่แข็งแรงเหมือนสมัยเรา
… และนี่คือ บริบทอันสวยงาม ของวิถีชีวิต ครูพิเศษสอนศิลปะ แห่งโรงเรียนบ้านลำทองหลาง ครูหนุ่มผมยาว อารมณ์ดี มีชีวิตเรียบง่าย ที่อยากถ่ายทอดวิชาศิลปะให้กับเด็กๆ มากกว่าต้องการค่าจ้างค่าออนใดๆ และที่สำคัญที่สุด อยากให้เด็กรักถิ่นฐานบ้านเกิดและปลูกฝังเมล็ดพันธ์แห่งรักและศรัทธาต่อสถาบันให้หนูน้อยเติบโตเป็นอนาคตของชาติที่ดีต่อไป นับเป็นวิถีชีวิตพอเพียง และเป็นแบบอย่างที่น่ายกย่อง ของคนที่อุทิศตนเพื่อเด็กตามชนบท อย่างแท้จริง ซึ่งเหมาะสมอย่างที่สุด กับการเป็นคนดี ของพ่อ ที่เราออกตามหา เพื่อบันทึกไว้ ในแบบฉบับที่คนทำดี
ต้องได้รับการยกย่องและเชิดชู
ต้องได้รับการยกย่องและเชิดชู
หมายเหตุ : ท่านใดสนใจศึกษาเรื่องบ้านดินแบบเจาะลึก ครูเกียรติแจ้งว่า
ยินดีให้คำชี้แนะด้วยความยินดียิ่ง
ยินดีให้คำชี้แนะด้วยความยินดียิ่ง
เผยแพร่บทความครั้งแรก โดย kokoseven ที่ 2010-05-24 12:41:14น.
ในบทความเรื่อง
.. ปลูกจิตสำนึก ด้วยรักและศรัทธา ให้หนูน้อยรักสถาบัน กับกิจกรรมดีๆ
.. ปลูกจิตสำนึก ด้วยรักและศรัทธา ให้หนูน้อยรักสถาบัน กับกิจกรรมดีๆ
และอัพเดทเนื้อหา เพื่อเผยแพร่อีกครั้ง สำหรับ
บทความ ตามหาคนดีของพ่อ กลุ่มดินรักษ์ฟ้า
บทความ ตามหาคนดีของพ่อ กลุ่มดินรักษ์ฟ้า
ขอขอบคุณ : บุคคลต้นแบบ คนดีของพ่อ อีกหนึ่งความภูมิใจ
ในการตามหาคนดีของพ่อในครั้งนี้ “ครูเกียรติ บ้านดิน”
ในการตามหาคนดีของพ่อในครั้งนี้ “ครูเกียรติ บ้านดิน”
By Koko DinRakFah Blog
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น